คู่มือการใช้งาน ถังดับเพลิง
บทความนี้ได้รับการอนุญาตเผยแพร่จาก บริษัท สยามเบสท์ สตีล เวิร์คส์ จำกัด และ www.saturnfireproduct.com แล้ว
โรงงานผู้ผลิตถังดับเพลิง จำหน่ายถังดับเพลิงทุกประเภท
องค์ประกอบของไฟ (Triangle of Fire)
เพลิงไฟเกิดจาก 3 องค์ประกอบ ซึ่งทำปฏิกิริยาต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ดังนี้
1. ออกซิเจน (Oxygen)
2. เชื้อเพลิง (Fuel)
ตามาตรฐาน NFPA10 ที่มอก.ใช้อ้างอิงอยู่จะแบ่งเป็น 5 ประเภทดังนี้
Class A เพลิงที่เกิดจากของแข็ง เช่น ไม้ กระดาษ พลาสติก ยาง
Class B เพลิงที่เกิดจากของเหลวติดไฟ เช่น น้ำมัน ก๊าซ ทินเนอร์ หรือสารทำละลายต่างๆ
Class C เพลิงที่เกิดจากไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ไฟฟ้าลัดวงจร
Class D เพลิงที่เกิดจากโลหะติดไฟ โดยทั่วไปจะพบได้น้อยมาก เช่นกลุ่มโลหะอัลคาไล หรือ ธาตุกลุ่ม ที่4ในตารางธาตุ เช่น ไททาเนียม(Ti) เซอร์โคเนียม (Zr)
Class K เพลิงที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร โดยปกติแล้วหมวดนี้จะอยู่รวมกับClass B แต่ เนื่องจากตัวเชื้อเพลิงทำให้เกิดไฟที่รุนแรงกว่าจึงเห็นสมควรแยกประเภทออกมาเป็น Class K เช่น น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ เครื่องดับเพลิง Water Mist หรือ โฟม AFFF เหมาะสำหรับใช้กับ เพลิงชนิดนี้
3. ความร้อน (Heat)
ระยะการเกิดเพลิงไฟ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1. ขั้นต้น คือ ตั้งแต่เห็นเปลวไฟจรถึง 4 นาที สามารถดับได้เองเบื้องต้นโดยใช้ถังดับเพลิง
2. ขั้นปานกลาง คือ ระยะเวลาช่วง 4 - 8 นาที อุณหภูมิจะสูงมากเกินกว่า 400 องศาเซลเซียส หากจะใช้เครื่องดับเพลิง ต้องมีความชำนาญและต้องมีอุปกรณ์ จำนวนเพียงพอ จึงควรใช้ระบบดับเพลิงขั้นสูง จะมีความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่มากกว่า
3. ขั้นรุนแรง คือ ระยะเวลาเพลิงไหม้ต่อเนื่องไปแล้ว เกิน 8 นาที และยังคงมีเชื้อเพลิงอีกมาก อุณหภูมิสูงมากกว่า 600 องศาเซลเซียส ไฟจะลุกลามและขยายตัวไปทุกทิศทางอย่างรุนแรงและรวดเร็ว การดับเพลิงต้องใช้ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม พร้อมอุปกรณ์ในการระงับเหตุขั้นรุนแรง
การติดตั้ง
สำหรับเครื่องดับเพลิงขนาดเบาที่มีน้ำหนักรวมไปเกิน 10กก. (5ปอนด์, 10ปอนด์, 15ปอนด์) ให้ติดตั้งสูงจากพื้น โดยวัดจากส่วนที่สูงที่สุดของเครื่องดับเพลิง ต้องไม่เกิน 150 ซม.
สำหรับเครื่องดับเพลิงที่มีน้ำหนักมากกว่า 10 กก. (20ปอนด์, 50ปอนด์, 100ปอนด์) ให้ติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน 90 ซม.พร้อมติดตั้งปายขี้ตำแหน่งเครื่องดับเพลิงเพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
วิธีใช้งานเครื่องดับเพลิง
'ดึง ปลด กด ส่าย' 4ขั้นตอนง่ายๆที่จะช่วยให้คุณสามารถใช้ถังดับเพลิงได้อย่างถูกวิธีในสถานการณ์ที่จำเป็น
ดึง - จัดวางเครื่องดับเพลิงให้ฉลากหันหน้าเข้าหาลำตัวในด้านที่ผู้ใช้ถนัด จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่คันบีบด้านบน โดยที่นิ้วทั้งสี่ที่เหลือจับใต้คันบีบด้านล่าง หิ้วเครื่องดับเพลิงไปยังตำแหน่งของกองเพลิงโดยยืนห่างจากกองเพลิงประมาณ 3-4 เมตร โดยเข้าทางเหนือทิศทางลมจากนั้นจึงทำการดึงสลักนิรภัยออก
ปลด - ปลดปลายสายออกจากตัวถัง เล็งไปยังบริเวณฐานเชื้อเพลิง โดยจับปลายสายให้แน่นอย่าให้หลุดมือ
กด - เล็งสายที่กองเพลิงและกดคันบีบ ควรกดให้สุดคันบีบเพื่อให้เคมีออกมาได้อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง
ส่าย - ส่ายปลายสายไปมา เพื่อให้ผงเคมีครอบคลุมทั่วกองเพลิง ย่อตัวลงเล็กน้อยเพื่อหลบความไฟและความร้อน ฉีดจากใกล้ไปไกลและควรเข้าสู่เป้าหมายด้วยความระมัดระวัง เมื่อแน่ใจว่าไฟดับสนิทแล้วจึงถอยออกจากจุดเกิดเหตุ
***ข้อควรระวัง อย่าฉีดที่เปลวไฟ ให้ฉีดที่ฐานของเพลิงไฟ***